ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Login
ย้อนกลับ

การศึกษา รายวิชาเลือกคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์


                                                    

รายวิชาเลือกคลินิก นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4, 5, 6 

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

 

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 368601 

Modern parenting

2 (0-4-2)

 368602 

Medical Genetics and Genomics in Clinical Practice

2 (0-4-2)

 368603 

Exciting innovations in pediatric care

2 (0-4-2)

 368604 

Emergency & Intensive care in Pediatrics

2 (0-4-2)

 368605 

Insights in Pediatric Cardiology

2 (0-4-2)

 368606 

Exciting procedures in pediatric care

2 (0-4-2)

 368607 

Ambulatory Care in Pediatrics

2 (0-4-2)


Modern parenting  พ่อแม่ยุคใหม่  รหัสวิชา 368601  หน่วยกิต 2(0-4-2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 2 สัปดาห์
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 368 521 กุมารเวชศาสตร์ 1
คำอธิบายรายวิชา : การดูแลเด็กทั้งเด็กดีและเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในด้านการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21 บทบาทของแพทย์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรในยุคดิจิทัล รู้จักและเข้าใจข้อดีข้อเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเลี้ยงดูบุตร รวมไปถึงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเลี้ยงดูเด็ก
จุดมุ่งหมายของรายวิชา :
  1. ความรู้ 
       - มีความรู้ในการดูแลเด็กดี และการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม
       - มีความรู้ในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง ส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม
       - มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีกับการเลี้ยงดูบุตร
       - มีความรู้ความเข้าใจทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21
 2. ทักษะ
       - มีทักษะในการให้คำแนะนำผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรในยุคดิจิทัล

Medical Genetics and Genomics in Clinical Practice 
เวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ในเวชปฏิบัติ

รหัสวิชา 368602  หน่วยกิต 2(0-4-2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 2 สัปดาห์
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 368 521 กุมารเวชศาสตร์ 1
คำอธิบายรายวิชา : ความรู้ทางคลินิกเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม การถ่ายทอด การตรวจทางห้องปฏิบัติการขั้นสูงโดยใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ (genomics) และการแพทย์แม่นยำ (precision medicine) ในการวินิจฉัย การแปลผลการตรวจทางพันธุกรรมเบื้องต้น และการรักษาโรคทางพันธุกรรมในปัจจุบันและในอนาคต การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ การคำนวณโอกาสเกิดโรคซ้ำ และการป้องกันการเกิดโรคซ้ำด้วยเทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์ ประเด็นทางจริยธรรมกับเทคโนโลยีจีโนมิกส์
จุดมุ่งหมายของรายวิชา :
  1. ความรู้ 
       - เข้าใจการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในรูปแบบต่างๆ
       - มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเวชศาสตร์จีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยในยุคปัจจุบันและอนาคต
       - มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงทางห้องปฏิบัติการในการวินิจฉัยโรคพันธุกรรม และสามารถเลือกส่งตรวจ แปลผลเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม
 2. ทักษะ
       - สามารถให้การแปลผลการตรวจทางพันธุกรรมเบื้องต้นได้
       - มีทักษะเบื้องต้นในการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์เบื้องต้นแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และประชาชนกลุ่มเสี่ยง

Exciting innovations in pediatric care นวัตกรรมที่น่าตื่นเต้นในการดูแลผู้ป่วยเด็ก
รหัสวิชา 368603  หน่วยกิต 2(0-4-2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 2 สัปดาห์
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 368 521 กุมารเวชศาสตร์ 1
คำอธิบายรายวิชา : นวัตกรรมใหม่ๆ ในการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก เช่น เลเซอร์ผิวหนัง การตรวจทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เวชศาสตร์จีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เทคโนโลยีทางประสาทวิทยาศาสตร์ และการใช้เทคโนโลยี เช่น เครื่อง continuous glucose monitoring และ insulin pump ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน การให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก หลักการที่เป็นพื้นฐานของการคิดค้นนวัตกรรม ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์ในอนาคต
จุดมุ่งหมายของรายวิชา :
  1. ความรู้ 
       - รู้จักนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการแพทย์สำหรับการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยเด็ก
       - มีความรู้พื้นฐานในการให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก
       - ทราบหลักการพื้นฐานของนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีใช้ในการดูแลผู้ป่วยในปัจจุบัน
 2. ทักษะ
       - สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก
       - สามารถแปลผลการตรวจวินิจฉัยที่ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยเด็ก

Emergency & Intensive care in Pediatrics กุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉินและเวชบำบัดวิกฤต
รหัสวิชา 368604  หน่วยกิต 2(0-4-2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 2 สัปดาห์
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 368 521 กุมารเวชศาสตร์ 1
คำอธิบายรายวิชา : การวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตทางกุมารเวชกรรม การช่วยกู้ชีพเด็กและทารกแรกเกิด การวินิจฉัยและดูแลรักษาภาวะฉุกเฉินทางกุมารเวชศาสตร์ตามระบบต่างๆ ได้แก่ ภาวะฉุกเฉินทางระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบโลหิตวิทยา การบริบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม และหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด
จุดมุ่งหมายของรายวิชา :
  1. ความรู้ 
       - มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตทางกุมารเวชกรรม
       - มีความรู้ในการช่วยกู้ชีพเด็ก
       - มีความรู้ในการช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด
 2. ทักษะ
       - สามารถทำการช่วยกู้ชีพเด็กและทารกแรกเกิด

Insights in Pediatric Cardiology กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจเชิงลึก
รหัสวิชา 368605  หน่วยกิต 2(0-4-2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 2 สัปดาห์
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 368 521 กุมารเวชศาสตร์ 1
คำอธิบายรายวิชา : การวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ และนวัตกรรมด้านหัตถการขั้นสูงในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การสวนหัวใจ การใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของรายวิชา :
  1. ความรู้ 
       - สามารถให้การวินิจฉัย ดูแลรักษา และส่งต่อผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจได้อย่างเหมาะสม
       - มีความรู้เบื้องต้นในการทำหัตถการขั้นสูงทางหัวใจเพื่อการวินิจฉัยและรักษา เช่น echocardiogram, cardiac catheterization
 2. ทักษะ
       - แปลผลอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจในเด็กได้อย่างถูกต้อง
       - แปลผล echocardiogram และ cardiac catheterization เบื้องต้นได้
       - ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจได้อย่างเหมาะสม

Exciting procedures in pediatric care หัตถการที่น่าตื่นเต้นในการดูแลผู้ป่วยเด็ก
รหัสวิชา 368606  หน่วยกิต 2(0-4-2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 2 สัปดาห์
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 368 521 กุมารเวชศาสตร์ 1
คำอธิบายรายวิชา : หัตถการที่น่าสนใจในการดูแลผู้ป่วยเด็ก เช่น กางส่องกล้องทางเดินอาหาร การส่องกล้องทางเดินหายใจ การสวนหัวใจ การเจาะชิ้นเนื้อไต การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของรายวิชา :
  1. ความรู้ 
       - รู้จักข้อบ่งชี้ ข้อห้ามในการทำหัตถการทางกุมารเวชศาสตร์สำหรับการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยเด็ก
       - มีความรู้พื้นฐานในการให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับหัตถการทางกุมารเวชศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก
 2. ทักษะ
       - สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับหัตถการทางกุมารเวชศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก

Ambulatory Care in Pediatrics กุมารเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก
รหัสวิชา 368607  หน่วยกิต 2(0-4-2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 2 สัปดาห์
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4,5,6
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 368 521 กุมารเวชศาสตร์ 1
คำอธิบายรายวิชา : การวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมทั้งผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ป่วยเรื้อรังแบบองค์รวม การพิจารณาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างเหมาะสมเมื่อมีความจำเป็น การจัดระบบการให้การบริบาลผู้ป่วยนอกโดยคำนึกถึงคุณภาพในการวินิจฉัย และรักษา บนพื้นฐานของความคุ้มค่าของการรักษาพยาบาล และการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จุดมุ่งหมายของรายวิชา :
  1. ความรู้ 
       - มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมที่มารักษาด้วยปัญหาที่พบบ่อย
       - มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมที่มารักษาด้วยโรคเรื้อรังแบบองค์รวม
       - สามารถวินิจฉัยและดูแลผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมได้อย่างเหมาะสมและส่งต่อผู้ป่วยให้แพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ที่มีข้อบ่งชี้ได้
       - เข้าใจระบบการจัดการบริบาลผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม
 2. ทักษะ
       - สามารถทำหัตถการเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมได้อย่างเหมาะสม

2021/08/20 - Chanyut Suphakunpinyo